จามจุรี (Samanea saman) เป็นชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก
มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู
รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร จามจุรี ยังมีชื่ออื่นอีก คือ
"ก้ามปู" และ "ฉำฉา"
จามจุรีเป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
และต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน
ชื่อพื้นเมือง ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู (ภาคเหนือ)
ฉำฉา ลิง สารสร
ชื่อสามัญ Rain Tree East Indian Walnut,Monkey
Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ลักษณะ
จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป
อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่
ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ
และจังหวัดอื่นๆ
อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี
ทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง
อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ
และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น
ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลยทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง
ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย
ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว
เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์
ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ต้นจามจุรีในฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก
ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งในเมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา
ต่ำลง
ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะเปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น
ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคาไม้ท่อน
ซึ่งราคาดีกว่า
จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก
จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อการแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ
สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง
ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก
เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่
จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง
(พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ
คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ
เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด
จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ
เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ
แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ
แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท
เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ
กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก
และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
ประโยชน์
จามจุรีเป็นไม้เอนกประสงค์ คือสามารถใช้ประโยชน์จากต้นจามจุรีได้ในหลายๆ
ด้าน เช่น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมอีก เช่น ร่มเงา
การเลี้ยงครั่งเป็นต้น ประโยชน์ของไม้จามจุรีทางด้านต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น
ลักษณะทั่วไป
ต้น - ไม้ต้นสูงได้ถึง 20
เมตร เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เปลือกสีดำแตกล่อนได้
ใบ - ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
ออกสลับช่อย่อย มีใบย่อย 2-10 คู่ รูปไข่หรือรูปขนมเปียกปูนเบี้ยว
กว้าง 0.7- 4 cm . ยาว 1.5- 6 cm . ปลายโค้งมนเบี้ยว
ดอก - ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
ก้านช่อดอกยาว ดอกรวมเป็นกระจุกที่ปลายก้าน กลีบดอกขนาดเล็ก เชื่อมกันเป็นหลอด
เกสรตัวผู้ยาวสีชมพู จำนวนมาก
ผล - เป็นฝักรูปขอบขนาน หรือโค้งเล็กน้อย
กว้าง 1.5 - 2.3 cm . ยาว 15 - 20 cm . เมื่อแก่สีดำมีเนื้อนิ่ม
เมล็ดรูปรีค่อนข้างมี 15 - 25 เมล็ด
สรรพคุณ:
ใบ
- รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
เมล็ด - รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
แก้เยื่อตาอักเสบ
เปลือกต้น -
รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โลหิตตกใน
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้เขตร้อน
แหล่งที่อยู่ของต้นไม้ในโรงเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น